วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฎศิลป์ไทย

1.1 ดนตรีประกอบการแสดงโขน-ละคร
             วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทย  คือ  วงปี่พาทย์  ซึ่งมีขนาดของวงเป็นแบบวงประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดงนั้นๆ ด้วย  เช่น  การแสดงโขนนั่งราวใช้วงปี่พาทย์เครื่อง  ห้า  2  วง  การแสดงละครในอาจใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่  หรือการแสดงละครดึกดำบรรพ์ต้องใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์  เป็นต้น
1.2  ดนตรีประกอบการแสดงรำและระบำมาตรฐาน
              การแสดงรำและระบำที่เป็นชุดการแสดงที่เรียกว่า  รำมาตรฐานและระบำมาตรฐานนั้น  เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง  จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง  อามีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบตามลักษณะควมจำเป็นของการแสดง  เช่น  ระบำกฤดาภินิหาร  อาจนำเครื่องดนตรี  ขิมหรือซอด้วง  ม้าล่อ  กลองต้อก  และกลองแต๋ว  มาบรรเลงในช่วงท้ายของการรำที่เป็นเพลงเชิดจีนก็ได้
1.3  ดนตรีประกอบการแสดงพื้นเมือง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ ของไทยจะเป็นวงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าของแต่ละภูมิภาค ได้แก่
           1. ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ  มีเครื่องดนตรี  เข่น  พิณเปี๊ยะ  ซึง  สะล้อ  ปี่แน  ปี่กลาง ปี่ก้อย  ปี่ตัด  ปี่เล็ก  ป้าดไม้  (ระนาดไม้)  ปาดเหล็ก (ระนาดดอกเหล็ก) ป้าดฆ้อง  (ฆ้องวงใหญ่) ฆ้องหุ้ย ฆ้องเหม่ง กลองหลวง กลองแดว กลองปูเจ่ กลองปูจา กลองสะบัดไชย  กลองมองเชิง  กลองเต่งทิ้ง  กลองม่านและกลองตะโล้ดโปด  เมื่อนำมารวมเป็นวง จะได้วงต่างๆ คือ  วงสะล้อ  ซอ  ซึง  วงปูเจ่  วงกลองแอว  วงกลองม่าน  วงปี่จุม  วงเต่งทิ้ง  วงกลองปูจาและวงกลองสะบัดไชย
           2. ดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง  เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับวงดนตรีหลักของไทยคือ  วงปี่ทาทย์และเครื่องสาย  ซึ่งลักษณะในการนำมาใช้อาจนำมาเป็นบางส่วนหรือบางประเภท เช่น  กลองตะโพน  และเครื่องประกอบจังหวะนำมาใช้ในการเล่นเพลงอีแซว  เพลงเกี่ยวข้าว  กลอง  รำมะนาใช้เล่นเพลงรำตัด  กลองยาวใช้เล่นรำเถิดเทิง  กลองโทนใช้เล่นรำวงและรำโทน  ส่วนเครื่องเดินทำนองก็นิยาใช้ระนาด  ซอ  หรือปี่  เป็นต้น
           3.  ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน  มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ  ได้แก่  พิณ  อาจเรียกต่างกันไปตาท้องถิ่น  เช่น  ซุง  หมากจับปี่  หมากตับเต่ง  และหมากต๊ดโต่ง  ซอ  โปงลาง  แคน  โหวด  กลองยาวอีสาน  กลองกันตรึม  ซอกันตรึม  ซอด้วง  ซอตรัวเอก  ปิ่อ้อ  ปี่เตรียง  ปี่สไล  เมื่อนำมาประสมวงแล้วจะได้วงดนตรีพื้นเมือง  คือ  วงโปงลาง  วงแคน  วงมโหรีอีสานใต้  วงทุ่มโหม่ง  และวงเจรียงเมริน
           4.  ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้  มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ  ได้แก่  กลองโนรา  (กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก)  กลองโพน  กลองปืด  กลองทับ  โทน  รำมะนา  โหม่ง  (ฆ้องคู่)  ปีกาหลอ  ปี่ไหน  กรับพวงภาคใต้(แกระ)  และนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาผสม  ได้แก่  ไวโอลิน  กีตาร์  เบนโจ  อัคคอร์เดียน  ลูกแซ็ก  ส่วนการประสมวงนั้น  เป็นการประสมวงตามประเภทของการแสดงแต่ละชนิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น