วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จิตรกรรม

      จิตรกรรม (อังกฤษ : painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร
        จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ
       ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว์
                                                                          ภาพ โมนาลิซาเป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำไดhมากที่สุดในโลกตะวันตก

ศิลปะคืออะไร

ศิลปะ    ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2530 หมายถึง ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏ ซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ความอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีหรือ ความเชื่อทางศาสนา
  • ศิลปะ คือการถ่ายทอดความรู้สึก ศิลปะเป็นวิธีสื่อสารความรู้สึกระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
    (เรโอ ตอลสตอย :
    Leo Tolstoi)
    ศิลปะ เกิดจากความเมาหรือความเพลิน ช่วยให้เราได้รับความเพลิดเพลินในชีวิต ด้วยเหตุนี้ โลกที่น่าเกลียดจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นโลกที่น่ารักเพราะศิลปะ (ไดโอนิซุส :
    Dionisus)
  • ศิลปะ ได้แก่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในเมื่อธรรมชาติไม่สามารถอำนวยให้ (หลวงวิจิตรวาทการ)
  • ศิลปะ หมายถึงงานอันเป็นความพากเพียรของมนุษย์ ซึ่งต้องใช้ความพยายามด้วยมือและด้วยความคิด (ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี)
  • ศิลปะ คือการเลียนแบบธรรมชาติ
  • ศิลปะ คือการแสดงออกทางความงาม
  • ศิลปะ คือภาษาชนิดหนึ่ง
  • ศิลปะ คือการรับรู้ทางการเห็น
  • ศิลปะ คือการกระทำทุกอย่างที่มนุษย์ต้องการสร้างขึ้น เพื่อให้มีความงาม ความแปลก และมีประโยชน์เท่าที่ความสามารถและแรงดลใจของมนุษย์จะแสดงให้ปรากฏได้
แต่สรุปให้พอเข้าใจ แล้วหมายถึง   ” สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์  
                                                  เพื่อตอบสนองอารมณ์และประโยชน์ใช้สอย “

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เครื่องแต่งกายของโขน

1. ตัวพระ สวมเสื้อแขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ ส่วนล่างสวมสนับเพลา
กางเกง) ไว้ข้างใน นุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลา ด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้า เป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขนแต่ภายหลังไม่นิยม เพียงแต่แต่งหน้า และสวมชฎาแบบละครในเท่านั้น
2. ตัวนาง สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่องส่วนล่างนุ่งผ้ายก จีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละครตามตัวสวมเครื่อง ประดับต่างๆ เช่น กรองคอ สังวาล พาหุรัดเป็นต้น แต่เดิมตัวนางที่เป็นตัวยักษ์ เช่น นางสำมนักขา นางกากนาสูรจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังมีการแต่งหน้าไปตามลักษณะของตัวละครนั้นๆโดยไม่สวมหัวโขนบ้าง
3. ตัวยักษ์ เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้าคือ ตัวยักษ์จะนุ่งผ้าไม่มีหางหงส์ แต่มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอว ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละครซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยชนิด 4. ตัวลิง เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวยักษ์แต่มีหางลิง ห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นอีกที สวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ไม่มีอินทรธนู ตัวเสื้อปักลายขดเป็นวง สมมุติว่าเป็นขนตามตัวลิงส่วนศีรษะสวมหัวโขน ตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณ 40 ชนิด

เทคนิคการร้องเพลง

นักร้องที่ฉลาด
       จะหาจุดหายใจในเพลงของตัวก่อนอย่าง อื่น และซักซ้อมไว้ให้ดีจนคนฟังจับไม่ได้ บางท่านหยุดหายใจพวกคำตายต่างๆที่ต้องลงท้ายด้วยแม่ กก กด กบ เพราะสระ พวกนี้มีเสียงสั้นไม่ต้องเอื้อน
        อีกที่หนึ่ง ได้แก่บริเวณท้ายประโยคแต่ละตอนของเพลงเราอาจหยุดหายใจสั้นๆก่อนตัวสุด ท้าย เพื่อจะได้มีพลังไว้ยืดโน้ตตัวสุดท้ายนั้นทำให้เสียงฟังนุ่มนวล ขึ้น
การฝึกหายใจ
       เป็นหลักสำคัญ ในการร้องเพลง เพราะลมที่ได้จากการหายใจแต่ละครั้ง หมายถึง ชีวิตและพลัง
ควรที่ผู้สนใจทางด้านนี้จะฝึกฝนไว้จนเกิดความเคยชิน  นอกจากนี้การร้องเพลงให้ได้ดี ยังต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นอีกมาก  เช่น สำเนียงร้องที่ชัด การใช้ปากกับการออกเสียง อารมณ์
ตลอดจนการทำเสียงให้ไพเราะโดยอาศัยการ เคลื่อนไหวของกราม การทำเสียงรัว ฯลฯ เป็นต้น
หูของตัวจะเป็นครูที่ดีบอกให้รู้ว่า เสียงที่ออกมานั้น มีคุณภาพแค่ไหนหรือถ้าใครอยากให้คนอื่นช่วยฟังก็คง จะดียิ่งขึ้น

เราควรเลือกหายใจตรงไหนดี

       บางคนเลือกหายใจทุกระยะที่รู้สึกติด ขัด คือลมหมดเมื่อไรก็หายใจเมื่อนั้น
วิธีนี้เสี่ยงหน่อย ถ้าหยุดไม่ถูกที่ อาจทำให้เพลงขาดหายไปเฉยๆ
ผู้ฟังหมดอารมณ์ต่อเนื่องไป อย่างน่าเสียดาย
บางคนเลือกหายใจเอาที่ระยะหมดประโยคในเพลงซึ่งพอจะแก้ไข ข้อเสียของรายแรกได้
แต่ก็ไม่วายมีข้อติ คือ ถ้าผู้ร้องผ่อนลมหายใจตอนแรกมากเกินไป
พอถึงตอนท้ายประโยคลมจะไม่พอ ทำเสียงเพี้ยนหรือเสียงแกว่ง หรือขาดหายไป ทำให้ไม่เพราะ

การฝึกการหายใจ

แบ่งได้เป็น 3 จังหวะ
      จังหวะที่หนึ่ง สูดลมหายใจเข้า ให้ตรงดิ่งไปที่ช่องท้องก่อนแล้วค่อยขยายขึ้นสู่ปอด อกและหลังจะขยายกว้างขึ้น
      จังหวะที่สอง เป็นการอัดลมในช่องท้องโดยการเกร็งกล้ามเนื้อที่หน้าท้อง
หรือโดยใช้การ บังคับของกล้ามเนื้อกระบังลมเพื่อให้เกิดความดันเพียงพอให้สายเสียงสั่นได้
นอก จากนี้ยังทำให้กระบังลมขยายตัวสูงขึ้นพลอยให้โพรงในลำคอกว้างขึ้นยิ่ง เมื่อได้ริมฝีปากช่วยจะยิ่งได้เสียงที่ออกมาจากคอโดยตรงและมีกังวานใสเพราะ มีการสะท้อนในลำคอช่วยอีกแรงหนึ่ง
       จังหวะที่สาม เป็นการผ่อนลมหายใจ (ถ้าเป็นในขณะร้องเพลง จังหวะนี้จะเป็นจังหวะที่เสียงออกมา)
ต้องควบคุม ด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม อย่างสม่ำเสมอ ให้ลมออกมากน้อย
ตามความดังค่อย ของเสียงที่ต้องการ ต้องคอยระวังไม้ปล่อยมากเกินไป
มิฉะนั้นจะทำให้ลม หมดเสียก่อน หรือไม่ก็มีเหลือน้อยเกินกว่าจะสามารถประคองเสียงอยู่ได้จนจบประโยค
ปัญหาที่มักพบกัน
       ก็คือปัญหาลมมาอัดอยู่ในคอจนเกิดอาการเกร็งร้องไม่ออก
วิธีแก้  คือ ให้หมุนคอไปมา ลมจะออกมาบ้าง ช่วยให้สบายขึ้น
                  การฝึกฝน
       การหายใจทั้ง 3 จังหวะนี้ ควรทำเป็นประจำทุกวัน
โดยเริ่มทำช้าๆ ก่อน แล้วค่อยเร็วขึ้น อาจรู้สึกหน้ามืด เป็นเพราะมีเลือดฉีดขึ้นไปเลี้ยงสมองมากเกินไป
ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ให้พักเสีย การฝึกหายใจอย่างสม่ำเสมอ เท่ากับเป็นการบริหารอย่างหนึ่ง
ช่วย ให้กล้ามเนื้อกระบังลมแข็งแรงและมีพลังในการร้องเพลง

เครื่องดนตรีใน ตัวมนุษย์

         เมื่อลมหายใจออก ผ่านกล่องเสียงที่อยู่บริเวณลำคอ จะทำให้สายเสียงสั่น
เกิดเสียงในระดับ ต่างๆขึ้น ยิ่งเมื่อได้โพรงในลำคอและจมูกช่วยการสะท้อนเสียงด้วยแล้วเสียง จะยิ่งมีกังวานมากขึ้นเสียงสูงๆต่ำๆ ที่เปล่งออกมาอย่างได้จังหวะนี้
จัดเป็นเครื่องดนตรีวิเศษสุดชิ้นหนึ่ง ที่มนุษย์สามารถบรรเลงได้โดยตัวเอง เสียงที่เปล่งออกมาได้อย่างแจ่มใส ตรงโน้ต มีกังวานชวนฟังนั้นย่อมมาจากลมหายใจในช่องท้องจำนวนพอเหมาะที่จะทำให้ เสียงสั่นในความถี่ที่ต้องการ
ในทางตรงข้ามถ้าลมไม่พอ เสียงที่ออกมาจะไม่สดใส บางทีอาจเพี้ยนไป
การหายใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงเป็นผู้ให้ชีวิตเท่านั้น
แต่ยังเป็นขุมพลังมหาศาลแก่เครื่อง ดนตรีวิเศษชิ้นนี้อีกด้วย

   
การหายใจแบ่งอย่างคร่าวๆ ได้เป็น 2 ช่วง
ช่วงแรก หายใจก่อนร้องเพลง เอาลมไปเก็บไว้ในช่องท้องและปอดเพื่อเป็นแรงสำคัญในการร้อง วรรคแรกของเพลงให้จับใจผู้ฟังขณะร้องเพลงไปก็ผ่อนลมหายใจออกมาจนลมที่ เก็บไว้หมดไปทุกทีทำให้ต้องหายใจเอาลมครั้งใหม่เข้าไปอีกอีกประการหนึ่งแม้ว่าลมจะยังไม่หมดแต่เราคงกลั้นลมหายใจนานๆไม่ได้เพราะใน ช่วงนี้ร่างกายขาดออกซิเจนการหายใจขณะร้องเพลงจึงเป็นเรื่องหนีไม่พ้นจัดเป็นการหายใจที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องกระทำกัน

ประวัติของโขน

โขนจัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า "โขน" ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงานพระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน"[13] โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายในภาษาต่าง ๆ ดังนี้[14][15]
  • คำว่าโขนในภาษาเบงคาลี ซึ่งปรากฏคำว่า "โขละ" หรือ "โขล" (บางครั้งเขียนด้วยคำว่า "โขฬะ") [16] ที่เป็นชื่อเรียกของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดหนึ่งของฮินดู ลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกับตะโพนของไทย ไม่มีขาตั้ง ทำด้วยดิน ไม่มีสายสำหรับถ่วงเสียง มีเสียงดังค่อนข้างมาก จัดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในแคว้นเบงกอล ประเทศอินเดีย ใช้สำหรับประกอบการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่ายาตราหรือละครเร่ที่คล้ายคลึงกับละครชาตรี โดยสันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เคยถูกนำมาใช้ประกอบการเล่นนาฏกรรมชนิดหนึ่ง จึงเรียกว่าโขลตามชื่อของเครื่องดนตรี
  • คำว่าโขนในภาษาทมิฬ มีจุดเริ่มต้นจากคำว่าโขล ซึ่งมีความใกล้เคียงกับโกลหรือโกลัมในภาษาทมิฬ หมายความถึงเพศหรือการแต่งตัว การประดับตกแต่งร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าให้สวยงามตามแต่ลักษณะของเพศหญิงและเพศชาย หรืออีความหมายหนึ่งของโกลหรือโกลัมคือการใช้แป้งโรยประดับตกแต่งหน้าบ้าน
  • คำว่าโขนในภาษาอิหร่าน มีที่มาจากคำว่าษูรัต ควาน (อังกฤษ: Surat khwan) หมายความถึงตุ๊กตาหรือหุ่น ซึ่งใช้สำหรับประกอบการแสดง โดยมีผู้ขับร้องและให้เสียงแทนตัวหุ่น เรียกว่าควานหรือโขน (อังกฤษ: Khon) มีความคล้ายคลึงกับผู้พากย์และผู้เจรจาของการแสดงโขนในปัจจุบัน
  • คำว่าโขนในภาษาเขมร เป็นการกล่าวถึงโขนในพจนานุกรมภาษาเขมร ซึ่งหมายความถึงละคร แต่เขียนแทนว่าละโขน ที่หมายความถึงการแสดงมหรสพอย่างหนึ่ง

เทคนิคการดูเเลมือให้นุ่ม

1. หลีกเลี่ยงการล้างมือบ่อยๆ

หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ล้างมือด้วยน้ำเปล่า หรือใช่สบู่ที่ไม่มีฤทธิ์ด่างรุนแรงอย่างเช่น สบู่เด็ก เป็นต้น

2. เช็ดมือด้วยผ้าขนหนูนุ่มๆ ทุกครั้ง หลังล้างมือ

อย่าปล่อยให้มือสัมผัสอากาศจนแห้งไปเอง เพราะจะทำใให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงผิวเป็นเหตุให้มือหยาบกรานได้

3. ทาครีมหรือเบบี้ออยล์ก่อนนอน

เพื่อให้เนื้อครีมซึมซับสู่ผิวพรรณ สร้างความชุ่มชื้นให้แก่ผิวในขณะหลับ และตอนเช้าก็ให้ทาอีกครั้งเพื่อป้องกันมือของคุณจากแสงแดด

4. ทามือด้วยโยเกิร์ต

ทาโยเกิร์ตทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จะช่วยให้มือนุ่มน่าสัมผัสขึ้น

5. ดื่มน้ำ

ควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อเป็นการทดแทนน้ำหล่อเลี้ยงผิวที่เสียไป

6. บำรุงมือด้วยไข่แดงและสับปะรด

ใช่ไข่แดง 2 ฟอง ผสมกับน้ำสับปะรดคั้น 3 ช้อนโต๊ะ ตีให้เข้ากันแช่มือของคุณไว้ประมาณ 30-40 นาที แล้วล้างออก หมั่นทำเดือนละ 2 ครั้ง


วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฎศิลป์ไทย

1.1 ดนตรีประกอบการแสดงโขน-ละคร
             วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโขนและละครของไทย  คือ  วงปี่พาทย์  ซึ่งมีขนาดของวงเป็นแบบวงประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของการแสดงนั้นๆ ด้วย  เช่น  การแสดงโขนนั่งราวใช้วงปี่พาทย์เครื่อง  ห้า  2  วง  การแสดงละครในอาจใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่  หรือการแสดงละครดึกดำบรรพ์ต้องใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์  เป็นต้น
1.2  ดนตรีประกอบการแสดงรำและระบำมาตรฐาน
              การแสดงรำและระบำที่เป็นชุดการแสดงที่เรียกว่า  รำมาตรฐานและระบำมาตรฐานนั้น  เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง  จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลง  อามีการนำเครื่องดนตรีบางชนิดเข้ามาประกอบตามลักษณะควมจำเป็นของการแสดง  เช่น  ระบำกฤดาภินิหาร  อาจนำเครื่องดนตรี  ขิมหรือซอด้วง  ม้าล่อ  กลองต้อก  และกลองแต๋ว  มาบรรเลงในช่วงท้ายของการรำที่เป็นเพลงเชิดจีนก็ได้
1.3  ดนตรีประกอบการแสดงพื้นเมือง ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคต่างๆ ของไทยจะเป็นวงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่มีคุณค่าของแต่ละภูมิภาค ได้แก่
           1. ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ  มีเครื่องดนตรี  เข่น  พิณเปี๊ยะ  ซึง  สะล้อ  ปี่แน  ปี่กลาง ปี่ก้อย  ปี่ตัด  ปี่เล็ก  ป้าดไม้  (ระนาดไม้)  ปาดเหล็ก (ระนาดดอกเหล็ก) ป้าดฆ้อง  (ฆ้องวงใหญ่) ฆ้องหุ้ย ฆ้องเหม่ง กลองหลวง กลองแดว กลองปูเจ่ กลองปูจา กลองสะบัดไชย  กลองมองเชิง  กลองเต่งทิ้ง  กลองม่านและกลองตะโล้ดโปด  เมื่อนำมารวมเป็นวง จะได้วงต่างๆ คือ  วงสะล้อ  ซอ  ซึง  วงปูเจ่  วงกลองแอว  วงกลองม่าน  วงปี่จุม  วงเต่งทิ้ง  วงกลองปูจาและวงกลองสะบัดไชย
           2. ดนตรีพื้นเมืองภาคกลาง  เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกับวงดนตรีหลักของไทยคือ  วงปี่ทาทย์และเครื่องสาย  ซึ่งลักษณะในการนำมาใช้อาจนำมาเป็นบางส่วนหรือบางประเภท เช่น  กลองตะโพน  และเครื่องประกอบจังหวะนำมาใช้ในการเล่นเพลงอีแซว  เพลงเกี่ยวข้าว  กลอง  รำมะนาใช้เล่นเพลงรำตัด  กลองยาวใช้เล่นรำเถิดเทิง  กลองโทนใช้เล่นรำวงและรำโทน  ส่วนเครื่องเดินทำนองก็นิยาใช้ระนาด  ซอ  หรือปี่  เป็นต้น
           3.  ดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน  มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ  ได้แก่  พิณ  อาจเรียกต่างกันไปตาท้องถิ่น  เช่น  ซุง  หมากจับปี่  หมากตับเต่ง  และหมากต๊ดโต่ง  ซอ  โปงลาง  แคน  โหวด  กลองยาวอีสาน  กลองกันตรึม  ซอกันตรึม  ซอด้วง  ซอตรัวเอก  ปิ่อ้อ  ปี่เตรียง  ปี่สไล  เมื่อนำมาประสมวงแล้วจะได้วงดนตรีพื้นเมือง  คือ  วงโปงลาง  วงแคน  วงมโหรีอีสานใต้  วงทุ่มโหม่ง  และวงเจรียงเมริน
           4.  ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้  มีเครื่องดนตรีที่สำคัญ  ได้แก่  กลองโนรา  (กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก)  กลองโพน  กลองปืด  กลองทับ  โทน  รำมะนา  โหม่ง  (ฆ้องคู่)  ปีกาหลอ  ปี่ไหน  กรับพวงภาคใต้(แกระ)  และนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาผสม  ได้แก่  ไวโอลิน  กีตาร์  เบนโจ  อัคคอร์เดียน  ลูกแซ็ก  ส่วนการประสมวงนั้น  เป็นการประสมวงตามประเภทของการแสดงแต่ละชนิด