วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รองเง็ง

ในตอนนี้ได้มีการนำรองเง็งมาแสดงในงานพิธีต่างๆน้อยมากเพราะเป็นการแสดงที่ค่อนข้างหาชมได้ยากมากเนื่องด้วยว่าเป็นการแสดงที่ไม่ค่อยมีบุคคลให้ความสำคัญในการแสดงศิลปะชิ้นนี้สักเท่าไรไม่เหมือนมโนราห์ หนังตะลุง หรือลิเกฮูลู ที่ยังมีการสืบต่อสืบสานวัฒนธรรมการแสดงเหล่านี้เอาไว้แต่คิดว่าในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่มักที่จะพบการแสดงเหล่านี้อยู่เพราะว่าได้มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศไทยในบริเวณนั้นซึ่งในแถบนั้นนิยมในแสดงมากอยู่


วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะเป็นสิ่งที่่มนุษย์สร้างขึ้น

ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ (Art) ไว้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพราะฉะนั้นต้นไม้ ภูเขา ทะเล น้ำตก  ความงดงามต่าง ๆ  ตามธรรมชาติจึงไม่เป็นศิลปะ  ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงามนักหนา   ก็ไม่ได้เป็นศิลปะเลย    ถ้า หากเรายึดถือตามความหมายนี้แล้ว      สิ่งที่มนุษย์สร้างสร้างขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะ
ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น   ภาพวาด  ภาพพิมพ์  งานปั้น  งานแกะสลัก    เสื้อผ้าอาภรณ์    เครื่องประดับที่อยู่อาศัยยานพาหนะเครื่องใช้สอยตลอดจนถึงอาวุธที่ใช้รบราฆ่าฟันกัน ก็ล้วนแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้นไม่ว่ามนุษย์สร้างสิ่งที่ดีงามเลิศหรูอลังการหรือน่าเกลียดน่าชังอย่างไรก็ตาม ล้วนแต่เป็นงานศิลปะอย่างนั้นหรือไม่ ?

ความหมายของศิลปะ

ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายทั้งกว้างและจำเพาะเจาะจง ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ทัศนะของแต่ละคน
 แต่ละสมัยที่จะกำหนดแนวความคิดของศิลปะให้แตกกต่างกันออกไป   หรือแล้วแต่ว่าจะมีใคร
 นำคำว่า "ศิลปะ" นี้ไปใช้ในแวดวงที่กว้างหรือจำกัดอย่างไร

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จิตรกรรม

      จิตรกรรม (อังกฤษ : painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร
        จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ
       ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว์
                                                                          ภาพ โมนาลิซาเป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำไดhมากที่สุดในโลกตะวันตก

ศิลปะคืออะไร

ศิลปะ    ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2530 หมายถึง ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏ ซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ ความอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีหรือ ความเชื่อทางศาสนา
  • ศิลปะ คือการถ่ายทอดความรู้สึก ศิลปะเป็นวิธีสื่อสารความรู้สึกระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
    (เรโอ ตอลสตอย :
    Leo Tolstoi)
    ศิลปะ เกิดจากความเมาหรือความเพลิน ช่วยให้เราได้รับความเพลิดเพลินในชีวิต ด้วยเหตุนี้ โลกที่น่าเกลียดจึงเปลี่ยนแปลงไปเป็นโลกที่น่ารักเพราะศิลปะ (ไดโอนิซุส :
    Dionisus)
  • ศิลปะ ได้แก่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในเมื่อธรรมชาติไม่สามารถอำนวยให้ (หลวงวิจิตรวาทการ)
  • ศิลปะ หมายถึงงานอันเป็นความพากเพียรของมนุษย์ ซึ่งต้องใช้ความพยายามด้วยมือและด้วยความคิด (ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี)
  • ศิลปะ คือการเลียนแบบธรรมชาติ
  • ศิลปะ คือการแสดงออกทางความงาม
  • ศิลปะ คือภาษาชนิดหนึ่ง
  • ศิลปะ คือการรับรู้ทางการเห็น
  • ศิลปะ คือการกระทำทุกอย่างที่มนุษย์ต้องการสร้างขึ้น เพื่อให้มีความงาม ความแปลก และมีประโยชน์เท่าที่ความสามารถและแรงดลใจของมนุษย์จะแสดงให้ปรากฏได้
แต่สรุปให้พอเข้าใจ แล้วหมายถึง   ” สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์  
                                                  เพื่อตอบสนองอารมณ์และประโยชน์ใช้สอย “

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เครื่องแต่งกายของโขน

1. ตัวพระ สวมเสื้อแขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ ส่วนล่างสวมสนับเพลา
กางเกง) ไว้ข้างใน นุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลา ด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้า เป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขนแต่ภายหลังไม่นิยม เพียงแต่แต่งหน้า และสวมชฎาแบบละครในเท่านั้น
2. ตัวนาง สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่องส่วนล่างนุ่งผ้ายก จีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละครตามตัวสวมเครื่อง ประดับต่างๆ เช่น กรองคอ สังวาล พาหุรัดเป็นต้น แต่เดิมตัวนางที่เป็นตัวยักษ์ เช่น นางสำมนักขา นางกากนาสูรจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังมีการแต่งหน้าไปตามลักษณะของตัวละครนั้นๆโดยไม่สวมหัวโขนบ้าง
3. ตัวยักษ์ เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้าคือ ตัวยักษ์จะนุ่งผ้าไม่มีหางหงส์ แต่มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอว ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละครซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยชนิด 4. ตัวลิง เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวยักษ์แต่มีหางลิง ห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นอีกที สวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ไม่มีอินทรธนู ตัวเสื้อปักลายขดเป็นวง สมมุติว่าเป็นขนตามตัวลิงส่วนศีรษะสวมหัวโขน ตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณ 40 ชนิด

เทคนิคการร้องเพลง

นักร้องที่ฉลาด
       จะหาจุดหายใจในเพลงของตัวก่อนอย่าง อื่น และซักซ้อมไว้ให้ดีจนคนฟังจับไม่ได้ บางท่านหยุดหายใจพวกคำตายต่างๆที่ต้องลงท้ายด้วยแม่ กก กด กบ เพราะสระ พวกนี้มีเสียงสั้นไม่ต้องเอื้อน
        อีกที่หนึ่ง ได้แก่บริเวณท้ายประโยคแต่ละตอนของเพลงเราอาจหยุดหายใจสั้นๆก่อนตัวสุด ท้าย เพื่อจะได้มีพลังไว้ยืดโน้ตตัวสุดท้ายนั้นทำให้เสียงฟังนุ่มนวล ขึ้น
การฝึกหายใจ
       เป็นหลักสำคัญ ในการร้องเพลง เพราะลมที่ได้จากการหายใจแต่ละครั้ง หมายถึง ชีวิตและพลัง
ควรที่ผู้สนใจทางด้านนี้จะฝึกฝนไว้จนเกิดความเคยชิน  นอกจากนี้การร้องเพลงให้ได้ดี ยังต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นอีกมาก  เช่น สำเนียงร้องที่ชัด การใช้ปากกับการออกเสียง อารมณ์
ตลอดจนการทำเสียงให้ไพเราะโดยอาศัยการ เคลื่อนไหวของกราม การทำเสียงรัว ฯลฯ เป็นต้น
หูของตัวจะเป็นครูที่ดีบอกให้รู้ว่า เสียงที่ออกมานั้น มีคุณภาพแค่ไหนหรือถ้าใครอยากให้คนอื่นช่วยฟังก็คง จะดียิ่งขึ้น